สนามจินตนาการ

ได้รับแรงบันดาลใจจากการเป็นอาสาสมัครสอนเด็กพิการทางสายตา ได้สัมผัสถึงความสามารถและศักยภาพของ เด็กกลุ่มนี้ แต่ยังขาดสื่อการเรียนการสอนที่สอบโจทย์ข้อจำกัดของพวกเขา ซึ่งทำให้ล่าช้าในการเรียนรู้และ พัฒนาการที่จำเป็นในวัยต้นของชีวิต จึงได้คิดที่จะออกแบบของเล่นที่เล่นและเรียนรู้ผ่านการสัมผัสเป็นหลัก ที่จะช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ได้พัฒนาทั้งด้านกายภาพกล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดเล็ก ความคิดจินตนาการสร้างสรรค์ และการเข้าสังคม ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการอย่างเท่าเทียมให้กับกลุ่มเด็กพิเศษ ผ่านของเล่นที่ออกแบบคำนึงถึงอารยสถาปัตย์ (Universal Design) นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม