ชุดตัวอักษรประดิษฐ์ เฉก อะหมัด และภาพประกอบ

การออกแบบชุดตัวอักษร เฉกอะหมัด นั้นเป็นตัวอักษรไทยประดิษฐ์ซึ่งได้รับแรงบันดาล ใจมาจากตัวอักษรแบบ Old English ที่เขียนว่า “เจริญ” บนถาดกระเบื้องใน สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่เขียนและคำว่า เฉก อะหมัด อยู่บนประตูทางเข้ามะกอมหรืออาคาร ครอบสุสานฝังศพปฐมจุฬาราชมนตรี เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) จึงได้มา เป็นชุดตัวอักษรไทยประดิษฐ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมโดยใช้แนวคิดท้องถิ่น ภิวัตน์ในการออกแบบเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ชาวไทยมุสลิมเพื่อแสดงความชัดเจนทาง วัฒนธรรม และจดจำได้ง่าย มีความสวยงาม สะท้อนถึงชาติพันธุ์เดิมและความเป็นท้อง ถิ่น โดยชุดตัวอักษร ตัวอักษร เฉกอะหมัด เป็นทางเลือกหนึ่งของนักออกแบบที่สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบที่ต้องการใช้สะท้อนอัตลักษณ์ชาวไทยมุสลิมหรือนำไป ประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของนักออกแบบ ในส่วนของภาพประกอบ เกิดจากการศึกษาความสำคัญชอง พระยาเฉกอะหมัด ซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสาย เปอร์เซียและขุนนางคนสำคัญในราชสำนักสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัย พระเจ้าทรงธรรม โดยดำรงค์ตำแหน่งเจ้าพระยาจุฬาราชมนตรีคนแรกและตำแหน่ง กรมท่าขวา