อาสา ฟาร์มสเตย์

โครงการนี้เป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างอาคารและวัฒนธรรม จังหวัด เชียงรายและในอีกหลายๆจังหวัด ที่ขาดการถ่ายทอด องค์ความรู้การก่อสร้างอาคารพื้นถิ่นจากรุ่นนึงไปสู่รุ่น นึง การเปลี่ยนไปทางสังคม และวัฒนธรรม ทำให้ผู้คน ส่วนมากได้มองข้าม หรือไม่ให้ความสนใจใน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลต่อ บ้านพักอาศัยมีบทบาทน้อยลงต่อการเป็นอยู่ใน ปัจจุบัน ดังนั้นบ้านแบบพื้นถิ่นจึงไม่รับบูรณาการณ์กับ องค์ความรู้แบบสมัยใหม่เท่าทีควร โครงการนี้เป็นพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวผ่าน วัฒนธรรม และการประยุกต์วิธีกการออกแบบสถาปัต ยกกรมพื้นถิ่น โดยคำนึงถึงการอยู่อาศัยในอนาคต นัก ท่องเที่ยวจะใช้ชีวิตร่วมกับเจ้าบ้านที่เป็นคนท้องถิน โดยบ้านจะแบ่งออกเป็นบ้านประเพณีชาวเหนือ จำนวน 4 หลัง แต่ละหลังจะมีการระบายอากาศ ธรรมชาติเพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้านในฤดูร้อน ส่วน ในฤดูหนาว กำแพงสองชั้นจะทำหน้าที่เป็นฉนวน ป้องกันความเย็นจากภายนอกอาคาร จุดประสงค์หลัก คือ การเรียนรู้ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และประเพณีท้อง ถิ่น เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์การอยู่อาศัยอย่างเหมาะ สมกับปัจจุบัน และอนาคต