PHRAE of Aesthetic collection

ผู้วิจัยและคณะได้ทำการเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่การลงพื้นที่ทั้ง 10 ตำบลในจังหวัดแพร่และ ได้รับข้อมูลอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของทั้ง 10 ตำบล จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละตำบลรวมไป ถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการ ตลาด การออกแบบ และการผลิตเครื่องประดับ นำ มาสร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดกลุ่ม เป้าหมาย เพื่อใช้ในการออกแบบสินค้าเครื่อง ประดับเคลื่อนไหวที่ผสมผสานวัสดุกลาสเซรามิก และแนวคิดทางความเชื่อเอาไว้ ส่งผลให้สามารถ ออกแบบเครื่องประดับได้ตรงตามความต้องการ ของคนในชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้วิจัยได้ ทำการประชุมสอบถามความต้องการของคนใน ชุมชนในการสื่อสารอัตลักษณ์ของแต่ละตำบลเพื่อ ให้คนในชุมชนนั้นเกิดความภาคภูมิใจในการเผย แพร่ต่อยอดอัตลักษณ์ดังกล่าวออกสู่สายตานัก ท่องเที่ยว ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ในระดับชุมชนซึ่งเป็นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในลำดับต่อไป